Accessibility Tools

Skip to main content

ประวัติความเป็นมา

          โรงเรียนการศึกษาคนตาบอดและคนตาบอดพิการซ้ำซ้อน  ลพบุรี  ถือกำเนิดขึ้นเนื่องจากบ้านเด็ก
ตาบอดผู้พิการซ้ำซ้อนกรุงเทพฯ  มีเด็กตาบอดพิการซ้ำซ้อนที่กำพร้าจำนวนกว่า  60  คน  ที่รับการฟื้นฟูสมรรถภาพ  และยังมีผู้ขอรับบริการอีกเป็นจำนวนมาก แต่ด้วยอุปสรรคเรื่อง ความแออัด และความจำกัดด้านสถานที่ จึงทำให้ไม่สามารถขยายบริการได้ 

       

           ต่อมาในปี พ.ศ. 2542 คุณกุสุมา  มินทะขิน  และครอบครัวมินทะขิน บุตรของคุณโชติและคุณมานี (วรพิทยุต)  มินทะขิน  ซึ่งเป็นตระกูลวรพิทยาของจังหวัดลพบุรี ได้บริจาคที่ดินจำนวน 8 ไร่ 2 งาน 80 ตารางวา  บริเวณติดถนนพหลโยธิน  ตำบลนิคมสร้างตนเอง อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี ให้กับมูลนิธิธรรมิกชนเพื่อคน
ตาบอดในประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และได้นำมาสร้างเป็นโรงเรียนการศึกษาคนตาบอดและคนตาบอดพิการซ้ำซ้อนลพบุรี  ให้บริการแก่คนตาบอดในจังหวัดลพบุรี รวมทั้งพื้นที่ใกล้เคียง ได้แก่ สระบุรี  สิงห์บุรี  ชัยนาท  อ่างทอง  เพชรบูรณ์  และพระนครศรีอยุธยา ฯลฯ

          โรงเรียนการศึกษาคนตาบอดและคนตาบอดพิการซ้ำซ้อนลพบุรี  เปิดให้บริการครั้งแรก เมื่อวันที่
 9 เดือน มิถุนายน  พ.ศ. 2544  โดยให้บริการนักเรียนตาบอดพิการซ้ำซ้อนกำพร้า ที่ส่งต่อมาจากบ้านเด็ก
ตาบอดผู้พิการซ้ำซ้อน กรุงเทพฯ  ให้เข้ารับการศึกษา พัฒนาและฟื้นฟูสมรรถภาพประมาณ 40 คน 

เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2545  สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ( สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ) เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีเปิด โรงเรียนการศึกษาคนตาบอดและคนตาบอดพิการซ้ำซ้อนลพบุรี  และเริ่มเปิดรับสมัครนักเรียนตาบอดและตาบอดพิการซ้ำซ้อน  ในเขตพื้นที่ให้บริการ เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน